SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee On Youtube
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

ซึมเศร้า ภาวะที่เป็นมากกว่า อารมณ์เศร้า

ซึมเศร้า ภาวะที่เป็นมากกว่า อารมณ์เศร้า

ซึมเศร้า ภาวะที่เป็นมากกว่า อารมณ์เศร้า

ภาวะซึมเศร้า เกิดขึ้นได้จาก สารสื่อประสาทในสมองเกิดความเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความตึงเครียดทางอารมณ์ การกระทบกระเทือนจิตอย่างรุนแรง การปรับตัว หรือแม้แต่ความเครียดในครอบครัว ซึ่งปัจจัยที่เกิดภาวะซึมเศร้า ส่งผลให้ฮอร์โมนมีความผันผวนและสามารถเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดจากสภาวะความเครียดเรื้อรัง ความกดดันจากหน้าที่ความรับผิดชอบ ความขัดแย้งต่างๆ ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ

อาการของโรคซึมเศร้าที่สังเกตได้

1.    มีความเปลี่ยนแปลงทางความคิด

เกิดความคิดที่เป็นลบตลอดเวลา รู้สึกว่าตนเองสิ้นหวัง ไร้ค่า ไม่มีความหมาย หรือเป้าหมายในชีวิต มองโลกในแง่ร้าย คิดว่าความตายเป็นทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

2.    มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานหรือการเรียนรู้

การทำงานแย่ลงไม่มีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่สนุกกับสิ่งที่ทำ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว อ่อนเพลีย

3.    เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

ส่งผลกระทบทางอารมณ์ทำให้มีความกังวลตลอดเวลา โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว กระวนกระวาย หรือมีอาการซึมลงและรู้สึกเศร้า 

4.    เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน

ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน บางคนเกิดอาการเบื่ออาการทำให้น้ำหนักลดลงจากเดิม แต่ในบางคนก็เกิดการรับประทานมากเกินไปทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสุขภาพ เช่น อาการปวดในส่วนต่าง ๆ ปวดศรีษะเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า

1.    รักษาโดยวิธีการใช้ยา

การรักษาโดยวิธีการใช้ยาต้องผ่านการประเมินโดยจิตแพทย์ โดยการรับประทานยานั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ในทันที ต้องพบจิตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับขนาดยาทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

2.    รักษาด้วยวิธีการจิตบำบัด

การรักษาด้วยวิธีการจิตบำบัด จะเป็นการมุ่งเน้นการปรับความคิด ความเข้าใจ บำบัดแบบประคับประคองจิตใจ รวมถึงการทำบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด

3.    รักษาด้วย dTMS

dTMS คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมองในตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อปรับสมดุลทุกส่วนที่มีความเชื่อมโยงกัน ช่วยให้สารเคมีที่เกิดขึ้นในสมองสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ

วิธีการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า

·       สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

·       ดูแล ป้องกันการทำร้ายตัวเอง

·       ไม่ปิดกั้นการระบายความรู้สึก

·       รับฟัง

·       เข้าใจ

·       ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

·       เปลี่ยนบรรยากาศไปสถานที่ใหม่ ๆ

CH 9 Airport Hospital

 

Convenience Hospital Company Limited

90/5 Moo 13, King Kaew Rd.,

Tambon Rachadeva, Amphoe Bangplee,

Samutprakarn 10540

Call : +668 0074 8800, +662 115 2111

Fax : +662 738 9740

Line : @ch9airport

www.shockdee.com

เป็นโปรเจคที่ก่อตั้งโดย

www.siam-star-adwise.com

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.