SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

อาการของโรคหัวใจ (Heart Disease)

อาการของโรคหัวใจ (Heart Disease)

อาการของโรคหัวใจ (Heart Disease)
อวัยวะที่เรียกว่า หัวใจเป็นเหมือนศูนย์กลางควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานต่อไปได้
ดังนั้นเราควรต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนที่อาจทำให้คุณเสียชีวิตลงได้

 อาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ

·       เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกแน่นหน้าอก

·       มีเหงื่อออก

·       มีอาการปวดร้าว ตั้งแต่บริเวณ กราม คอ หลัง และลามไปแขนข้างซ้ายหรือขวาก็ได้

·        รู้สึกหอบเหนื่อย

·       ใจสั่น

·        หายใจลำบาก

·        คลื่นไส้ อาเจียน จุกใต้ลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน

บ่อยครั้งที่อาการเหล่านี้ แทบจะแยกจากโรคอื่นๆ ซึ่งอาจมีอาการคล้ายกันได้ลำบาก เช่น             

อาจทำให้สับสนกับโรคกรดไหลย้อน หรือกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบได้ ดังนั้น จึงไม่ควรละเลยหรือนิ่งนอนใจหากมีอาการดังกล่าว

 

ขั้นตอนการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  2. การตรวจเลือด หากตรวจพบว่ามีโปรตีนเจือปนในเลือดมากเท่าใด ก็บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้
  3. การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ
  4. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพัก หรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก
  5. การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography) ด้วยการฉีดสารทึบสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ เอกซเรย์ดูว่ามีส่วนใดของหลอดเลือดอุดตันหรือตีบบางหรือไม่

 แนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  1. การรักษาด้วยการใช้ยา ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรง ได้แก่ การให้ยาสลายลิ่มเลือด เพื่อละลายลิ่มเลือดที่ปิดกั้นหลอดเลือด ทั้งนี้หากผู้ป่วยได้รับยาชนิดนี้ภายในระยะเวลาไม่นานตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ การให้ยาต้านเกล็ดเลือด ที่ใช้ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด และป้องกันไม่ให้ ลิ่มใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บหน้าอก ลดการทำงานของหัวใจ ช่วยให้การทำงานของหัวใจดีขึ้น
  2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน จะช่วยดันไขมันที่อุดตันหลอดเลือดอยู่ให้ไปชิดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านจุดที่เคยตีบได้สะดวกขึ้น
  3. การผ่าตัดบายพาสหัวใจ เป็นการผ่าตัดเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ เพื่อทำทางเบี่ยงให้หลอดเลือดบริเวณที่มีการตีบหรือตัน ทำให้เลือดสามารถไหลผ่านได้ ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น
Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.