SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วอันตรายต่อชีวิตหรือไม่
(Is high pulse dangerous?)

ปกติแล้วคนทั่วไปชีพจรจะเต้น 60-100 ครั้งต่อนาที แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่มีสุขภาพดีชีพจรจะเต้นต่ำกว่า 90 ครั้งต่อนาที เพราะการที่หัวใจเต้นเป็นปกติดีแสดงถึงความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดต่าง ๆ แล้วถ้าชีพจรเต้นเร็วผิดปกติล่ะ จะมีอันตรายต่อชีวิตหรือไม่

ชีพจรเต้นเร็วเป็นสัญญาณที่ร่างกายบอกอะไรกับเรา

การที่ชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีนั้นพบว่ามีความสัมพันธ์กับหัวใจที่เต้นเร็ว เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะให้ทั่วร่างกาย ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เตือนว่าร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในทางกลับกัน หากชีพจรเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที จะทำให้เกิดอาการหน้ามืด หมดสติ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตต่ำได้

วิธีการวัดชีพจรต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะวัดชีพจรต้องงดทำกิจกรรมเคลื่อนไหวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเดิน วิ่ง ขึ้นบันได ยกของหนัก หรือการทำงานหนักที่หัวใจเต้นเร็วแรงขึ้น ดังนั้น ควรวัดชีพจรตอนที่นั่งพักเฉย ๆ มาสักระยะแล้วอย่างน้อย 5-10 นาที รวมถึงการไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนอย่างชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มมาแล้วควรเว้นระยะก่อนวัดชีพจร 1 ชั่วโมงขึ้นไป

วิธีการวัดชีพจรง่าย ๆ ทำได้โดยการวางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนข้อมือ กดลงไปเบา ๆ จะรับรู้ได้ถึงสัญญาณชีพที่เต้นตุ้บ ๆ อยู่ ให้จับเวลา 30 วินาทีแล้วนับว่าหัวใจเต้นไปกี่ครั้ง จากนั้นนำตัวเลขที่วัดได้มาคูณสอง (x2) ผลลัพธ์ที่ออกมาคือจำนวนการเต้นหัวใจภายใน 1 นาที และเพื่อความแม่นยำแนะนำให้ทำซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย

เคล็ดลับการวัดชีพจรให้ได้ผลดี : ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการวัดชีพจรคือตอนเช้าหลังจากการตื่นนอน แต่หากว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ สามารถตรวจชีพจรอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์โดยวัดชีพจรในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป เช่น หลังตื่นนอนตอนเช้า กลาง เย็น และก่อนนอน จากนั้นนำมาค่าหาเฉลี่ยจะได้ค่าชีพจรที่ถูกต้อง

เมื่อเกิดภาวะชีพจรเต้นเร็วเกินไปจะทำอย่างไรดี

ถ้าชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที วิธีการเบื้องต้นที่สามารถช่วยได้ผลเป็นอย่างดีคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยครั้งละอย่างน้อย 30 นาที และอย่าปล่อยให้ตัวเองอ่อนเพลีย ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่าลืมว่าการวัดชีพจรเป็นเพียงการตรวจด้วยตนเองแบบง่าย ๆ เท่านั้น ปัจจัยที่จะให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดยังมีอีกหลายสาเหตุ ถ้าชีพจรเต้นเร็วทุกครั้งที่ทำการตรวจ ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหรือแน่นหน้าอกเมื่อต้องออกแรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียด

CH 9 Airport Hospital

 

Convenience Hospital Company Limited

90/5 Moo 13, King Kaew Rd.,

Tambon Rachadeva, Amphoe Bangplee,

Samutprakarn 10540

Call : +668 0074 8800, +662 115 2111

Fax : +662 738 9740
Line : @ch9airport

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.