รู้จักความฝันผ่านมุมมองจิตวิเคราะห์ (What does psychoanalytic theory say about dreams?)
การแปลความฝัน : ฝันแต่ละครั้งหมายถึงอะไรบ้าง
ในขณะที่แต่ละทฤษฎีได้พยายามอธิบายว่าเรานั้นฝันไปทำไมกัน แต่ก็ไม่มีอะไรเลยที่จะสามารถอธิบายเรื่องนี้ได้ดี สิ่งที่เราอยากรู้ สิ่งเราไม่เข้าใจ เราอยากจะเข้าใจและจัดแจงว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของความฝันคืออะไรกันแน่
ความฝันยังคงเป็นเรื่องลี้ลับสำหรับพวกเรา แต่การที่เราเข้าใจความฝันนั้นสามารถทำให้เราจัดการกับความขุ่นมัวให้กระจ่างแจ้งได้ โดยเนื้อหาของความฝันที่เรากำลังฝันถึงอยู่นั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันทีทันใด
ความฝันมันก็เป็นแบบนี้.....
บางครั้งก็มีรูปแบบที่แน่นอนชัดเจน บางครั้งก็มีรูปแบบที่แปลกประหลาดหรือไม่ก็ทำให้เราหวาดกลัวไปเลย หรือความหลากหลายนี้อาจจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันได้ในการฝันแต่ละครั้ง
งานวิจัยเกี่ยวกับความฝันที่โดดเด่น อย่างเช่นงานวิจัยของ G William Domhoff ก็บอกว่า "โดยส่วนใหญ่แล้วความฝันมีแนวโน้มที่จะเติมเต็มความต้องการที่ยังไม่สามารถบรรลุได้ในโลกความเป็นจริงของเรา"
แม้ว่าการแปลความหมายของความฝันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพื่อทำความเข้าใจเรื่องความฝัน แต่ในขณะเดียวกันวิธีการแปลความฝันนี้ ก็ยังไม่ได้อธิบายถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของความฝันอย่างชัดเจนเสียที แต่ผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คนก็เชื่อว่าความฝันนั้น "มี" ความหมายอย่างแน่นอน
แนวคิดจาก Sigmund Freud : ความฝันเป็นดั่งเส้นทางสู่จิตไร้สำนึก (Unconscious)
ในหนังสืออันโดงดังเกี่ยวกับความฝันของเขา "the interpretation of dreams" เขาได้บอกว่าเนื้อหาของความฝันนั้นเกี่ยวข้องกับการเติมเต็มความต้องการของมนุษย์ เขาเชื่อว่า manifest content (เนื้อหาของความฝันที่ตรงกับความปรารถนาที่ถูกกดไว้) เป็นตัวที่ทำหน้าที่ปิดบัง latent content (เนื้อหาของความฝันที่ถูกปรุงแต่งขึ้นหรือมีการแอบซ่อนอยู่ในรูปของสัญลักษณ์)
Freud บอกว่า 4 องค์ประกอบของกระบวนการนี้คือสิ่งที่ตัวเขาใช้อ้างอิงการทำงานของความฝัน
#Condensation คือการรวบรวมหลาย ๆ ซึ่งแนวความคิดต่าง ๆ ที่นำมารวมกันเป็นเรื่องเดียวโดยข้อมูลจะมีการรวบรวมจากภาพความฝันหลาย ๆ ภาพหรือความคิดของเจ้าของความฝันหลาย ๆ ความคิด
#Displacement กลไกป้องกันทางจิตโดยการแทนที่ องค์ประกอบนี้ทำงานโดยการปิดบังความหมายทางด้านอารมณ์ของ latent content โดยจะมีการบิดเบือนหรือสลับที่เพื่อปิดบังความหมายที่เป็นสลักสำคัญยิบย่อยเอาไว้
#Symbolization ตัวแทน การทำให้สิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของความหมายเชิงสัญลักษณ์ (เป็นการแปรรูปอย่างหนึ่ง เช่น เราอาจจะอยากมี Sex กับคนรักมาก แต่ไม่สามารถมีได้ เราอาจจะฝันว่าได้ไปเที่ยวป่า แล้วมีช่วงเวลานั่งเล่นลูกดอกธนู ลูกดอกธนูนี่คือ Symbolic ของอวัยะเพศชาย การที่คนรักและตนได้เล่นดอกธนูร่วมกัน หมายถึงช่วงเวลาที่ได้ทำกิจกรรมร่วมเพศกัน)
#Secondary Revision ในช่วงสุดท้ายของกระบวนการเขาบอกว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ที่แปลกประหลาดของความฝันนั้นสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้เพื่อที่จะทำให้ความฝันนั้นสามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุนี้จึงมีการสร้าง manifest content ขึ้นมาในความฝัน
แนวคิดจาก Carl Gustav Jung : archetype (แม่แบบ) และ collective unconscious(จิตไร้สำนึกที่ถูกสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ)
Jung รู้สึกว่าครั้งฝันนั้นเป็นมากกว่าการแสดงออกและการยับยั้งความต้องการ เขาแนะนำว่าความฝันนั้นเปิดเผยถึงบุคลิกภาพและจิตไร้สำนึกที่ถูกสั่งสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและความเชื่อที่บอกว่าความฝันทำหน้าที่ชดเชยในส่วนของจิตใจที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาในชีวิตประจำวัน (fixation)
Jung ยังแนะนำอีกว่า Archetype อย่างเช่น animus (ลักษณะของความเป็นชายที่มีอยู่ในหญิง) , anima (ลักษณะของความเป็นหญิงที่มีอยู่ในชาย) และ shadow (สัญชาตญาณแบบสัตว์ในบุคคลซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรมที่ยังไม่ได้ขัดเกลาซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังคมไม่ยอมรับ)
บ่อยครั้งก็เป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ของวัตถุหรือบุคคลในความฝันนั้นโดยสัญลักษณ์เหล่านี้เขาเชื่อว่าเป็นตัวแทนของทัศนคติที่ถูกกดทับ(repress)ไว้โดยจิตสำนึก ไม่เหมือน Freud คนที่บอกว่าสัญลักษณ์ที่พิเศษก็เป็นตัวแทนของความคิดที่พิเศษของจิตไร้สำนึกด้วยเช่นกัน
Jung เชื่อว่าความฝันสามารถบ่งบอกถึงเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากๆและการตีความมันออกมาอาจเกี่ยวข้องจัดการนำไปเป็นข้อต่อรองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ของตัวบุคคลนั้นได้
แนวคิดจาก Calvin S. Hall : ความฝันคือกระบวนการทางความคิด
เขาได้เสนอว่าความฝันคือส่วนหนึ่งของกระบวนการทางความคิด ซึ่งความฝันทำหน้าที่เป็นเหมือนองค์ประกอบของแนวคิดของตัวบุคคลนั้น เขามองหาสาระสำคัญและรูปแบบโดยการวิเคราะห์คำขวัญที่ถูกบันทึกไว้จากผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นพันคน ท้ายที่สุดแล้วการสร้างระบบการวิเคราะห์เชิงปริมาณแบ่งสิ่งที่อยู่ในความฝันออกเป็นหมวดหมู่เอาไว้
อ้างอิงจากทฤษฎีของ Hall ในการที่จะอธิบายความฝันมีสิ่งที่เราต้องรู้คือ
-สิ่งที่ตัวบุคคลได้ทำลงไปในความฝัน
-วัตถุแล้วบุคคลต่างๆในความฝัน
-การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ฝันและบุคคลในความฝัน
-ทิศทางของความฝันและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
Hall ยังได้บอกอีกว่า "จุดสุดท้ายของการแปลความฝันไม่ใช่การเข้าใจความฝันแต่เป็นการเข้าใจผู้ฝันต่างหาก"
แนวคิดจาก G William Domhoff : ความฝันคือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินชีวิต
เขาคนนี้คือคนที่เป็นนักวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของความฝันที่โดดเด่น เขาทำงานกับ Hall ที่มหาวิทยาลัย Miami งานวิจัยใหญ่ ๆ ในงานของเขา เขาพบว่าความฝันได้สะท้อนความคิดและความกังวลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของตัวผู้ฝันเอง รูปแบบระบบประสาทด้านการรู้คิดของความฝันที่ซึ่งเป็นกระบวนการของความฝันนั้นมีผลมาจากกระบวนการทางประสาทและระบบของโครงสร้างทางความคิด (system of schema) เขายังบอกอีกว่าเนื้อหาของความฝันทั้งหมดมาจากกระบวนการพวกนี้นี่แหละ
การทำให้การแปลความฝันเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 1970 การแปลความฝันได้มีการเติบโตและเป็นที่นิยมกันอย่างมากต้องขอบคุณงานเขียนของนักเขียนชื่อดังอย่างเช่น Ann Faraday ในหนังสืออย่างเช่น "the dream game" ด้วยเทคนิคโครงสร้างการเขียนของและแนวคิดในการตีความความฝันที่เกินกว่าใครจะคิดได้ ทำให้ทุกวันนี้มีคนเราสามารถเข้าถึงการตีความความฝันได้หลากหลายมากขึ้นโดยผ่านพจนานุกรมความฝัน การตีความจากสัญลักษณ์ หรือเกร็ดเล็กน้อยเพื่อการตีความและเข้าใจความฝัน
ใจความของความฝันนี้อาจขึ้นอยู่กับอคติของคุณด้วย Carey Morewedge และ Michael Norton ได้ทำการศึกษาความฝันจากผู้เข้าร่วมการวิจัยมากกว่า 1 พันคนจากสหรัฐอเมริกา อินเดีย และเกาหลีใต้ เขาค้นพบว่านักศึกษาบางมหาวิทยาลัยในงานวิจัยนี้เชื่อว่าความฝันของพวกเขานั้นมีการตอบสนองกับสิ่งเร้าแบบสุ่ม กลับกันแทนที่จะเป็นไปตามแนวคิดของ Fried ที่ว่าความฝันคือการเปิดเผยถึงความต้องการและแรงกระตุ้นจากเบื้องลึกของจิตใจสิ่งที่เขาสองคนได้ค้นพบอีกก็คือ ผู้คนมีแนวโน้มที่จะจำฝันที่ไม่ดีถ้าหากว่าพวกเขาอยู่กับบุคคลที่พวกเขาไม่ชอบ และมีแนวโน้มที่จะฝันไปในทางที่ดีถ้าได้อยู่กับเพื่อนของเขาหรือคนที่เขารัก มีคำอธิบายคนอื่น ๆ ผู้คนมักจะมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้อธิบายความฝันในแบบที่จะเป็นการสนับสนุนความเชื่อที่เขามีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยนักวิจัยได้พบสิ่งที่เรียกว่า confirmation bias (อคติที่ใช้เพื่อการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง) และ self-serving bias (อคติที่ใช้ตอบสนองความต้องการของตัวเอง) ก็ยังมีผลกระทบกับวิธีที่ผู้คนใช้ในการตอบสนองต่อความฝันของพวกเขา เพราะผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับความฝันของพวกเขาอย่างจริงจังมาก ๆ โดยงานวิจัยก็บอกว่าความฝันพวกนี้ก็สามารถกลายเป็นลางสังหรณ์ที่เติมเต็มความต้องการของบุคคลได้ ถ้าคนฝันว่าคนกำลังจะสอบตกคุณอาจมีกำลังใจในการเรียนน้อยลงหรือแม้กระทั่งกลายเป็นคนที่เครียดจนทำให้คนทำสิ่งต่าง ๆ ได้แย่ลงอีกด้วย
ความฝันอาจมีหรือไม่มีความหมายในตัวของมันก็ได้แต่ในความจริงที่ยังมีอยู่นี้คือการแปลความฝันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมาและแม้กระทั่งบางคนก็ตัดสินใจทำอะไรใหญ่ ๆ ด้วยการดูที่ความฝันนั้น ๆ
#ความคิดเห็นส่วนตัว
ผมเองที่เคยเรียนการบำบัดด้วยทฤษฎีแบบอิงจิตวิเคราะห์ ก็ค่อนข้างมีความเชื่อในประเด็นที่ว่า "ทุก ๆ ความฝันของเราล้วนมีความหมาย และมันต่างเป็นภาพสะท้อนจิตใจของเรา"
ในการทำงานของผม ผมมักเลือกแปลความหมายความฝันของผู้บริการเมื่อถึงคราวจำเป็น หรือความฝันนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ผมไม่ได้ชำนาญการแปลความฝันมากนัก ไม่ใช่ทุกความฝันที่ผมจะสามารถทำการแปลความหมายให้ผู้บริการรับทราบถึงความจริงที่ซ่อนอยู่ในความฝันนั้นได้
การแปลความฝันยังคงเป็นเรื่องที่ยาก ต้องใช่ความพยายาม ความละเอียด และความอดทนต่อการเข้าใจสิ่งที่ถูกทำซับซ้อนในภาพความฝันต่าง ๆ และยังต้องอาศัยการร่วมมือของนักจิตวิทยาและผู้รับบริการอย่างมากเช่นกัน
นอกจากนี้จะต้องมีความรู้และทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความฝันอย่างดีเยี่ยมแล้ว ยังจะต้องเข้าในบริบทชีวิตของผู้รับบริการ ทั้งในด้าน ค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา ชุมชน และอื่น ๆ เพราะภาพความฝันนั้นมักมีเรื่องพวกนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คนที่โกรธพ่อแม่มาก ๆ และนับถือศาสนาที่มีพระเจ้าก็อาจจะฝันว่าตนนั้นได้ทำลายรูปปั้นพระเจ้า เนื่องจาก พระเจ้าและพ่อแม่ มีความเป็น Authority ต่อตัวเราด้วยกันทั้งคู่ การได้ทำลายพระเจ้าก็เหมือนได้ทำลายพ่อแม่ แต่พระเจ้านั้นเราไม่เคยเห็นตัวตน เราจึงฝันว่าเราได้ทำลายรูปปั้นพระเจ้าแทน
หากเป็นคนที่ไม่ได้นับถือศาสนา หรือไม่ได้มีพระเจ้าในจิตใจ ก็จะฝันออกมาในรูปแบบอื่น เช่น ฝันว่าได้ทำร้ายผู้นำประเทศ (ผู้นำประเทศก็มีลักษณะเป็น Authority)
เพราะฉะนั้นแล้วในเรื่องนี้ หากไม่มีความชำนาญพอ การแปลความฝันอาจจะนำมาซึ่งผลร้ายที่ไม่อาจจะคาดคิด ผมจึงขอแนะนำว่า เราไม่ควรวิเคาะห์หรือพยายามแปลความฝันของตัวเอง และหากเราคือนักวิชาชีพคนหนึ่งที่ไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้ก็อย่าได้พยายามทำมันเลย
ท้ายที่สุดนี้ เป้าประสงค์ที่แท้จริงของความฝันในจิตใจมนุษย์นั้นเรายังคงไม่อาจทราบได้แน่ชัด แต่ก็เป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง แม้ในวันนี้เรายังไม่ทราบเป้าประสงค์ที่แท้จริงของฝัน แต่หากเราทำความเข้าใจความฝันของผู้คนได้ เราย่อมเข้าใจเป้าประสงค์ในจิตใจของคน ๆ นั้นได้ นั่นนำมาซึ่งความเข้าใจต่อชีวิตนั่นเอง
contact info:
Facebook - Trust.นักจิตวิทยาการปรึกษา
Tel - 0649721915
Line ID - trust.counseling