SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

ใจสั่น เรื่องของ “หัวใจ” ที่ไม่ควรมองข้าม

ใจสั่น เรื่องของ “หัวใจ” ที่ไม่ควรมองข้าม

ใจสั่น เรื่องของ “หัวใจ” ที่ไม่ควรมองข้าม

ถ้าพูดถึงคำว่า “ใจสั่น” สำหรับวัยรุ่น คงเป็นเรื่องที่น่าอมยิ้มเวลาเล่าว่าเราไปเจอใครที่ทำให้ “ใจสั่น เลยทีเดียว” แต่อาการจริงๆ ของใจสั่น ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีแต่ประการใดเลย กลับเป็นสัญญาณเตือนที่เราไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว

ใจสั่น  (palpitation) เป็นอาการที่เกิดจากหัวใจเต้นแรง เต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ ทำให้เราสามารถรู้สึกได้ อาจมีอาการร่วมเช่นเวียนศีรษะ หน้ามืด จะเป็นลม ปกติหัวใจจะเต้นอยู่ที่ 60 – 100 ครั้งต่อนาที

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ “ใจสั่น” มีอะไรได้หลายสาเหตุ เช่น

  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายชนิด มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนต่างกัน โรคหัวใจขาดเลือด โรคห้องหัวใจหนา โรคหัวใจโต
  • โรคไทรอยด์เป็นพิษ ทำให้มีอาการใจสั่นได้ เนื่องจากหัวใจเต้นเร็วเกินไป
  • การออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้นทำให้เรารู้สึกได้
  • ยาหรือสารบางชนิด เช่นการทานยาบางตัวทำให้เกิดอาการใจสั่นขึ้นได้ สารบางชนิดเช่นคาเฟอีนจากชากาแฟในบางคนอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้นได้หรือยาเสพติดทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ก็จะทำให้รู้สึกหวิวๆเหมือนใจสั่นได้
  • การมีไข้ ติดเชื้อ ทำให้หัวใจสูบฉีดแรงและเร็วขึ้นได้
  • ภาวะเครียด กังวล ก็สามารถทำให้รู้สึกว่าใจสั่นได้แน่นหน้าอกหายใจไม่ออ

และเมื่อมีอาการ แม้ในบางครั้งจะหายไปเองได้ หรือเบาลง เมื่อนั่งพักสักครู่ แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ตรวจร่างกาย ปรึกษาเรื่องยาต่างๆที่เราใช้อยู่ อาจส่งตรวจทางการแพทย์ เพิ่มเติม เช่น

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่อง (Holter)
  • การวิ่งสายพาน
  • การตรวจเลือด เช่น ไทรอยด์ ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับเกลือแร่
  • เอกซเรย์ปอด
  • การตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ
  • การใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าแบบพกพาเวลามีอาการ เนื่องจากในบางครั้ง ไม่ได้เกิดอาการขึ้นตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถจับความผิดปกติเวลามาตรวจได้

 

โดยการรักษา มีหลายระดับ ตั้งแต่การงด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง ไปจนถึงการรักษาทางการแพทย์สาเหตุการเกิดโรคนั้น ๆ เช่น

  • กรณีที่เกิดจากโรคหัวใจก็อาจใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ หรือการจี้ไฟฟ้ารักษา การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือการช็อตไฟฟ้าหัวใจ
  • กรณีเกิดจากยาก็ควรหยุดหรือเปลี่ยนยา
  • กรณีเกิดจากคาเฟอีน ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
  • กรณีเกิดจากความเครียด ก็ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเครียดหรือพบจิตแพทย์

 ถ้าท่านมีอาการใจสั่น เป็นบ่อย รุนแรง ร่วมกับมีอาการหน้ามืด จะเป็นลม เจ็บแน่นหน้าอกหรือมีโรคหัวใจอยู่เดิม ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

ด้วยความปรารถนาดี

พญ. พันธิตรา ศิริปัญจนะ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์9 แอร์พอร์ต

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.