SHOCKDEE AED Hero ทำให้หัวใจของคุณกลับมาเต้นใหม่ได้อีกครั้ง จุดประกายเพื่อ หัวใจของคุณ อย่าปล่อยให้ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน มีโอกาสทำร้ายคุณและคนที่คุณรักค้นหาเครื่องเออีดี พบเจอเครื่องเออีดีรายงานที่ตั้งเครื่องเออีดี
ShockDee On Youtube
ShockDee Google Play Store
ShockDee App Store
ShockDee English ShockDee Thai

4 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแพ้อาหาร

4 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแพ้อาหาร

4 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแพ้อาหาร

ภาวะแพ้อาหาร หรือ Food allergy สาเหตุเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ทานสารอาหารบางชนิดเข้าไป แล้วไปทำให้ร่างกายมีการกระตุ้น สร้าง IgE (Immunoglobulin E) ต่อต้านต่ออาหารชนิดนั้น โดย IgE จะส่งสัญญาณไปยังระบบภูมิคุ้มกันเพื่อปล่อยสารฮีสตามีน ทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆเกิดขึ้น

สำหรับอาการของการแพ้อาหารที่พบบ่อยสุดคือ ผื่นลมพิษเฉียบพลัน ซึ่งจะมีผื่นเป็นผื่นแดง บวมนูน เป็นวง ตามลำตัว แขนขา มักเกิดขึ้นเร็วหลังจากที่ทานอาหารที่แพ้เข้าไปเพียง 5-15 นาที ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นภายใน 1 ชม. ในบางรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีตาบวมและหน้าบวมร่วมด้วย จนไปถึงแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ซึ่งเป็นอาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เป็นภาวะที่เร่งด่วนต้องรีบพบแพทย์โดยทันที อาการอื่นๆที่พบได้คือ คันในปาก คันริมฝีปาก คันตา หลังจากที่ทานอาหารที่แพ้เข้าไป สำหรับ4 เรื่องที่ผู้คนมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับการแพ้อาหาร ได้แก่

1.      “เคยทานแล้วแพ้ มีผื่นลมพิษขึ้นไม่มาก แสดงว่ายังพอทานได้อยู่ ” ซึ่งเป็นเข้าใจที่ผิด ความจริงคือ อาการแพ้ไม่รุนแรงในรอบก่อน ไม่ได้ยืนยันว่า อนาคตจะไม่รุนแรงเสมอไป ซึ่งอาจจะแพ้รุนแรงขึ้นมาวันไหนก็ได้ ขึ้นกับภูมิของเรา ณ วันนั้นๆด้วย

2.      “กินยาแก้แพ้ ก่อนกินอาหารที่แพ้ วิธีนี้ไม่ควรทำ เนื่องจาก ยาแก้แพ้อาจช่วยบดบังผื่น ไม่ให้เกิดผื่นได้ แต่ไม่ช่วยกรณีที่มีหลอมลมตีบ ความดันต่ำจากการแพ้อาหาร ดังนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ทันสังเกตอาการแพ้ แล้วเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

3.      “ถ้าเมื่อก่อนเคยกินกุ้ง ก็จะไม่แพ้กุ้งตลอดไปแม้ตอนเด็กหรือเมื่อก่อนเราจะทานกุ้งได้โดยไม่แพ้ แต่เมื่อโตขึ้น หรืออายุมากขึ้น ก็มีโอกาสแพ้ได้ เราเรียกภาวะนี้ว่า Adult-onset food allergy ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายถูกกระตุ้นจากโปรตีนในอาหารชนิดนั้นๆ สักช่วงหนึ่งของชีวิตโดยไม่รู้ตัว แล้วร่างกายค่อยๆสร้าง IgE เป็นปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้ ต่ออาหารชนิดนั้นขึ้นมา เมื่อกลับมาทานอีก เลยเกิดอาการแพ้เฉียบพลัน ซึ่งอาจกลายเป็นแพ้รุนแรงขึ้นมาในอนาคตได้

4.      “แพ้กุ้ง แต่สามารถกินกั้ง ปู ได้ไม่เกี่ยวข้องกัน” ความจริงคือ ผู้ที่แพ้กุ้ง เราจัดว่าเป็นกลุ่มที่แพ้สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง อาจจะแพ้จากเนื้อ หรือสารของเปลืองแข็งของสัตว์ชนิดนั้นๆ ก็ได้ จึงควรเลี่ยงทานกุ้ง กั้ง ปู ทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม ด้วย เนื่องจากอาหารพวกนี้มักมีโปรตีนที่คล้ายกัน สามารถแพ้ข้ามกันไปมาได้สูงถึง 75%

สำหรับการวินิจฉัยภาวะแพ้อาหารนั้น ต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย รวมไปถึงการตรวจทดสอบอื่นๆเพิ่มด้วย เช่น

  • การทดสอบทางผิวหนัง (Skin prick test) เป็นการใช้น้ำยาโปรตีนสกัด มาหยดบนท้องแขนแล้วใช้เข็มสะกิดที่ผิวหนังเพื่อทดสอบปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • ทดสอบโดยการเจาะเลือดหา Specific IgE ของอาหารที่สงสัย ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวก และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

การรักษาและการปฏิบัติตัว

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ รวมไปถึงอาหารที่มีโอกาสแพ้ข้ามกันได้ กรณีที่มีผื่นอย่างเดียวโดยไม่มีอาการอื่นร่วมได้สามารถทานยาแก้แพ้หลังที่เกิดอาการได้ สำหรับรายที่มีอาการแพ้รุนแรง ต้องพบแพทย์โดยด่วนที่สุด และแนะนำให้พกยาสำหรับช่วยชีวิตฉุกเฉิน Epinephrine ติดตัวร่วมด้วย

นพ.โกเมศ กิมวัฒนานุกุล

แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง โรงพยาบาลจุฬารัตน์9แอร์พอร์ต

Copyright © 2024 Siam Star Adwise. shockdee.com All right reseved.